วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ซอฟต์แวร์

แผนบริหารการสอนประจำหน่วยการเรียนที่ 4
 ซอฟต์แวร์  (Software)
หัวข้อเนื้อหาประจำหน่วย
  หน่วยการเรียนที่ 4  ประกอบด้วยเนื้อหา ที่มีหัวข้อดังต่อไปนี้
.....1. ความหมายของซอฟต์แวร์
.....2. ประเภทของซอฟต์แวร์
.....3. ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
.....4. ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
  เมื่อจบหน่วยการเรียนรู้นี้นักศึกษาควรจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังต่อไปนี้
.....1. อธิบายความหมายของซอฟต์แวร์ได้
.....2. อธิบายประเภทของซอฟต์แวร์ได้
.....3. อธิบายความสำคัญของซอฟต์แวร์
.....4. ระบุประเภทของวอฟต์แวร์ได้
.....5. อธิบายภาษาคอมพิวเตอร์ได้
วิธีและกืจกรรมการเรียนการสอน
  ในหน่วยการเรียนนี้มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง  จึงใช้กิจกรรมการเรียนการอสนดังนี้
.....1. การบรรยายประกอบสื่อ
.....2. การอภิปราย
.....3. การตอบคำถาม
.....4. การทำแบบฝึกหัด
.....5. การศึกษาค้นคว้าและทำรายงาน
การวัดและการประเมินผล
  วิธีวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนนี้มีต่อไปนี้

.....1. การสังเกตความสนใจ
.....2. การซักถามความเข้าใจ

.....3. การศึกษาค้นคว้า
.....4. การตรวจผลงานที่มอบหมาย

.....5.การทำแบบฝึกหัดท้ายบท
.....6. การสอบกลางภาคเรียน
.....7. การสอบปลายภาคเรียน



 ความหมายของซอฟต์แวร์

       การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้น การดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งซอฟต์แวร์
       ทำนองเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินจะใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่งบนสินค้าทำให้บนจอภาพปรากฏชื่อสินค้า รหัสสินค้า และราคา ในการดำเนินการนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้
      ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงาน ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น
       ชนิดของซอฟต์แวร์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟแวร์ประยุกต์ (application software)

ประเภทของซอฟต์แวร์

       ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
      ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
     ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ


ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์

       ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานหรือ หมายถึง ลำดับ ขั้นตอน การทำงาน ที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ทำงานได้มากมายเพราะมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสั่งงานคอมพิวเตอร์
      ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถ ทำงานได้


  ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์

         การที่เราจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามตามที่เราต้องการนั้น เราต้องใช้คำสั่งที่เป็นขั้นตอนเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน และที่สำคัญคือคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจกับภาษาที่เราใช้สื่อสารกัน ดังนั้นการที่จะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์จึงต้องพัฒนาภาษาสื่อกลางขึ้นมาเพื่อให้เราสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งสื่อกลางนี้ เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์
     ในความเป็นจริงเครื่องคอมพิวเตอร์ก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำงานด้วยกระแสไฟฟ้า ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งของการเปิดปิดของสัญญาณไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งเราจะนำมาเปรียบเทียบกับระบบเลขฐานสอง ซึ่งมีตัวเลขคือ 0 กับ 1 ใช้แทนรหัสการเปิดปิดสัญญาณไฟฟ้านั่นเอง
    การสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เราจึงสามารถสื่อสารสั่งคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ด้วยการนำระบบเลขฐานสองมาเรียงกันเป็นชุดคำสั่ง ซึ่งเรียกว่า
 ภาษาเครื่อง  และคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเข้าใจภาษาอื่นได้เลย ในขณะเดียวกันภาษาเครื่องเป็นภาษาที่เข้าใจและจดจำได้ยาก
    จึงได้มีการพัฒนารูปแบบของภาษาในการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ขึ้นมาในรูปแบบที่เราจะเข้าใจได้ง่าย เรียกว่า 
ภาษาระดับสูง และจะต้องมี ตัวแปลภาษา ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ด้วย
    ตัวแปลภาษามีหลายประเภท ตัวแปลภาษาที่แปลจากภาษาระดับสูงไปเป็นภาษาเครื่อง เรียกว่า 
คอมไพเลอร์ (compiler)  และตัวแปลที่แปลจากภาษาระดับสูงไปเป็นภาษาเครื่องทีละคำสั่ง แล้วคอมพิวเตอร์ก็กระทำการตามภาษาเครื่องนั้นแล้วย้อนกับมาแปลคำสั่งต่อไปอีกเป็นลำดับไป เรียกว่า อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)